ผู้ใหญ่ในปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตอย่างมาก วัยผู้ใหญ่ไม่ได้เริ่มต้นเมื่ออายุ 18 หรือ 21 ปีเหมือนในอดีต ในแต่ละครอบครัวต่างทราบกันดีว่าการเปลี่ยนผ่านสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัวของคนยุคนี้มักจะเริ่มขึ้นในช่วง 20 ปลาย ๆ หรือ 30 ต้น ๆ  การเป็นผู้ใหญ่ในยุคนี้จึงมีความแตกต่างกับผู้ใหญ่ในยุคก่อน ๆ ทั้งค่านิยมต่าง ๆ รวมไปถึงการบรรลุเป้าหมายในชีวิต โดยคนในยุคก่อนอาจจะไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ใหญ่ในยุคนี้ได้อีกต่อไป

การเปลี่ยนผ่านสู่วัยผู้ใหญ่ไม่ได้ดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนเสมอไป คนหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งที่ยังคงดำเนินชีวิตตามรูปแบบที่คนในยุคก่อนมองว่าเป็นเรื่องปกติ เช่น เรียนจบ มีงานที่มั่นคง แต่งงาน ซื้อบ้าน และมีลูก ในทางกลับกัน วิถีชีวิตดังกล่าวกลับไม่ตอบโจทย์สำหรับการเป็นผู้ใหญ่ในยุคนี้ เพราะการดำเนินชีวิตแบบนี้มีอุปสรรค มีความพลิกผัน และกว่าจะบรรลุเป้าหมายนั้นก็ต้องพึ่งพาพ่อแม่อยู่เรื่อย ๆ  นอกจากนี้ สมมติฐานที่ผู้ใหญ่ในยุคก่อนเคยยึดถือ เช่น การแต่งงานที่ปราศจากการหย่าร้าง การทำงานกับนายจ้างเพียงคนเดียว และความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนเดิม ๆ ตลอดชีวิต แต่ในปัจจุบันความเชื่อเหล่านั้นกลับพังทลายลง

รายงานล่าสุดจาก Innovation Group เปิดเผยถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังกำหนดภาพลักษณ์ของวัยผู้ใหญ่ นั่นคือกลุ่ม ‘ผู้ใหญ่รุ่นใหม่’ กลุ่มผู้ใหญ่รุ่นใหม่ประกอบด้วยกลุ่มคนอายุ 30-45 ปีที่มีจุดร่วมกันมากกว่ากลุ่มคนรุ่นอื่น ๆ กลุ่มผู้ใหญ่รุ่นใหม่จะนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มคนอายุ 30-40 กว่า ๆ ที่อยู่ทั่วโลก โดยเจาะลึกถึงแรงจูงใจ ค่านิยม ผลกระทบจากวิกฤตทางการเงิน และการใช้เทคโนโลยี เพื่อระบุว่าแบรนด์ต่าง ๆ จะสื่อสารกับกลุ่มคนเหล่านี้ได้อย่างไร

ผู้ใหญ่ในยุคปัจจุบันจะเป็นอย่างไร?

ผู้ใหญ่รุ่นใหม่จะเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดเดิม ๆ ทั้งหมด สร้างเส้นทางอาชีพที่แปลกใหม่ รวมไปถึงการนิยมอยู่ก่อนแต่งเพื่อทำความรู้จักซึ่งกันและกันหรือไม่ก็เลือกที่จะไม่แต่งงาน แม้ว่าพวกเขาจะใช้เวลาที่ผ่านมาไปกับการเจอวิกฤตการณ์ทางการเงิน แต่ปัจจุบัน ผู้ใหญ่รุ่นใหม่กำลังต่อต้านวิถีเดิม ๆ เพื่อค้นหาเส้นทางใหม่สู่ความมั่นคงที่พวกเขาปรารถนา พวกเขาอาจเป็นผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และมีความรู้ทางการเงิน แต่ยังคงผูกพันกับวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด และคาดหวังให้แบรนด์ต่าง ๆ ทำเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ผลการสำรวจจาก SONAR™ ซึ่งเป็นการวิจัยเฉพาะของ J. Walter Thompson ที่ครอบคลุมผู้บริโภคชาวอเมริกัน 1,755 คนและคนที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร 1,768 คน โดยเน้นที่กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 20-55 ปี โดยผลการสำรวจมีดังนี้ :

  • ผู้เข้าทดสอบคิดว่า “วัยกลางคน” เกิดขึ้นเมื่ออายุประมาณ 43-44 ปี
  • ผู้เข้าทดสอบ 64% ในสหรัฐอเมริกาถือว่าตนเองเป็นคนดิจิทัล
  • ผู้เข้าทดสอบ 59% ในสหรัฐอเมริกาและ 40% ในสหราชอาณาจักรใฝ่ฝันที่จะเป็นผู้ประกอบการ
  • ผู้เข้าทดสอบในสหราชอาณาจักร รู้สึกว่าตนเองมีความเป็นผู้ใหญ่ทางด้านจิตใจเมื่ออายุ 33 ปี ด้านอารมณ์ความรู้สึกเมื่ออายุ 35 ปี และทางด้านร่างกายตอนอายุ 40 ปี
  • ผู้เข้าทดสอบ 72% ในสหราชอาณาจักรเห็นด้วยว่าไม่มีชื่อใดที่สะท้อนถึงกลุ่มคนรุ่นของตน
  • ผู้เข้าทดสอบ 61% ในสหราชอาณาจักรเห็นด้วยว่าผู้คนไม่เคยเป็นผู้ใหญ่อย่างแท้จริง

นอกจากนี้คนอายุระหว่าง 16-24 ปีมีแนวโน้มที่จะทำงานที่ไม่มั่นคงภายใต้เศรษฐกิจเช่นนี้ โดยในประเทศที่พัฒนาแล้วคนนิยมเป็นเจ้าของบ้านลดลง คนอายุ 18-29 ปีเกือบ 50% ในสหรัฐอเมริกา และคนอายุ 25-29 ปี 30% ในสหราชอาณาจักรอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ซึ่งมีแน้วโน้มที่จะการแต่งงานลดลง และมีเพียง 55% ของคนรุ่น Gen-Z และ Millennials ที่วางแผนจะมีลูก โดยอัตราการเกิดกำลังลดลงในไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหภาพยุโรป จีน และสหราชอาณาจักร

ดังนั้นเมื่อมีการใช้การชี้วัดแบบดั้งเดิม คนหนุ่มสาวในยุคนี้จึงดูเหมือนว่าจะเติบโตช้ากว่าคนรุ่นก่อน ๆ ซึ่งความเป็นจริงแล้วเศรษฐกิจของคนหนุ่มสาวนั้นไม่สามารถเทียบได้กับคนรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชีวิตสมัยใหม่มีความคลุมเครือและไม่แน่นอน คนรุ่น Millennials และ Gen-Z เป็นกลุ่มคนรุ่นแรกที่ฐานะแย่กว่าพ่อแม่ของพวกเขา ค่าจ้างที่หยุดนิ่ง ความไม่มั่นคงในการทำงาน และการขาดแคลนที่อยู่อาศัยทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรุ่นต่อรุ่น คำมั่นสัญญาที่ว่า “ทำงานหนัก แล้วจะประสบความสำเร็จ” นั้นพังทลายลง

แนวคิดเรื่องช่วงชีวิตกำลังถูกท้าทายและถูกปรับเปลี่ยนใหม่ ไม่มีจุดเริ่มต้น จุดกึ่งกลาง และจุดสิ้นสุดที่ชัดเจนอีกต่อไป ผู้ใหญ่ในปัจจุบันมีโอกาสมากมายกว่าที่เคยในการสร้างชีวิตใหม่ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม ซึ่งในทางกลับกันการมีทางเลือกมากขึ้นอาจทำให้เกิดความสับสนและความรู้สึกที่ขัดแย้งในชีวิตของตัวเองมากขึ้น ความท้าทายที่อยู่ตรงหน้าเราคือการใช้ประโยชน์จากอิสรภาพที่เราเพิ่งค้นพบ เพื่อให้ยังคงมีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ โดยไม่รู้สึกกดดันกับทางเลือก และการตัดสินใจมากมายที่รออยู่ข้างหน้า

Links to related Sites: 
- Cultural Trends For 2024 And Beyond, forbes
- New trend report: The New Adulthood, vml
- The New Adulthood, psychologytoday

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *