ใครกำลังหาที่เที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ การไปเที่ยวที่ฉะเชิงเทราก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย..
การเดินทางในครั้งนี้เราเดินทางไปฉะเชิงเทราด้วยเส้นพระราม 2 ขึ้นทางพิเศษบูรพาวิถี เข้าถนนบางนา-ตราด และถนนเทพคุณากร มุ่งหน้าสู๋วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ออกเดินทางแต่เช้าถนนโล่ง
ปกติที่วัดโสธรวรารามวรวิหารคนก็เยอะอยู่แล้ว ยิ่งช่วงเทศกาลคนเยอะแทบจะล้นวัด เราจึงยอมเดินไกลหน่อย เข้าไปจอดรถที่ฌาปนสถานวัดแทน
มาพูดกันถึงตำนานของหลวงพ่อโสธรกันสักนิด สำหรับประวัติความเป็นมาของพระ 3 พี่น้อง (บางตำนานก็ว่า 5 พี่น้อง) ได้แก่ หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโต หลวงพ่อบ้านแหลม ต่างก็ลอยน้ำมาตามแม่น้ำ จึงได้นำพระพุทธรูปเหล่านั้นขึ้นฝั่งและอาราธนาให้ขึ้นสถิตอยู่ตามวัดต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับจุดที่ชะลอองค์พระขึ้นจากแม่น้ำ โดยหลวงพ่อโสธร ได้ลอยมาตามแม่น้ำบางปะกง แล้วขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวบ้านในจังหวัดฉะเชิงเทราจวบจนปัจจุบัน
หลวงพ่อโสธรองค์จำลองที่ศาลาเล็กไว้สำหรับจุดธูปเทียน ปิดทอง แก้บน
จากนั้นไปอุโบสถสามพันล้านไปกราบสักการะหลวงพ่อโสธรองค์จริง
หลวงพ่อโสธรองค์จริง และพระพุทธรูปอีก 18 องค์
ศาลาริมแม่น้ำบางปะกง
หลังจากที่ออกมาจากวัดโสธรวรารามวรวิหารก็มุ่งหน้าสู่ คุ้มวิมานดิน วันนี้เราจะไปปั้นดินกัน
ขับรถเข้าไปลึกพอสมควรกว่าจะถึงคุ้มวิมานดิน (วิวข้างทางสวยมาก ทุ่งนาเขียวชอุ่ม)
ถึงแล้วคุ้มวิมานดิน ไม่มีลานจอดรถ ต้องจอดรถไว้ข้างทางแล้วเดินเข้าไป แต่ปลอดภัย เพราะรถส่วนใหญ่ที่มาแถบนี้ ก็รถที่มาคุ้มวิมานดินทั้งนั้นเลย
หลังจากที่จอดรถเสร็จก็เดินเข้าไปด้านในคุ้มวิมานดินกันเลย
ซุ้มด้านหน้าทางเข้าจะมีผลไม้อย่าง กล้วย มะม่วง วางขาย ราคาคนท้องถิ่น ราคาถูกมากจนแอบเกรงใจ เห็นคุณป้าคนขายปลูกต้นกระบอกเพชรงามมาก คุณป้าเลยให้หน่อเล็ก ๆ มา 2 หน่อมาเพาะเอง คนชอบปลูกต้นไม้ก็ฟินเลยจ้าาา
จุดจำหน่ายคูปอง และขายของที่ระลึก
ดินที่วางไว้ที่สวนจำหน่ายทุกชิ้นจ้า
แม่เหล็กติดตู้เย็นน่ารักกกกก
ตั๋วค่าเข้าคนละ 30 บาท หากต้องการปั้นดินก็จ่ายเพิ่มคนละ 50 บาท
ลานปั้นดิน เราจะปั้นดินกันที่ศาลาแห่งนี้
คลิกเพื่ออ่านขั้นตอนการปั้นดินที่หน้าถัดไปเลยจ้า