Fremdschämen [ˈfʁɛmtˌʃeːmən] หรือ ความรู้สึกอับอายแทนคนอื่น คำ ๆ นี้ถูกบันทึกไว้ในพจนานุกรม Duden ในปี 2009 ความรู้สึกอายแทนหลังจากเห็นว่าคนอื่นทำเรื่องที่น่าอับอายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งความรู้สึกนี้ไม่ได้เกิดจากตัวเอง แต่เกิดขึ้นหลังจากการเห็นคนอื่นประสบกับเหตุการณ์ที่น่าอับอายนั่นเอง

ยกตัวอย่างสถานการณ์ “Fremdschämen” ก็คือการที่ A รู้สึกอับอายแทน B โดยที่ B ไม่ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ที่น่าอาย แต่ A ตระหนักถึง เนื่องจากรู้สึกเขินอายในสถานการณ์ที่ตัว B เองก็ไม่รู้ตัว ทำให้ A รู้สึกอายแทน

ในทางกลับกัน A กลับรู้สึกละอายใจโดยไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวที่อยู่นอกบริบททางสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้อื่นอับอาย

ทำไมมนุษย์ถึงมีความรู้สึกอับอายแทนคนอื่น

ความอับอายเป็นอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ที่ลึกซึ้งและซับซ้อน ต่างจากความกลัว ความโกรธ หรือความโศกเศร้า ความอับอายจึงไม่ใช่อารมณ์พื้นฐานที่เด็กทารกจะแสดงมันออกมาได้ แต่ความรู้สึกนี้จะมีการพัฒนาไปตลอดชีวิต ความอับอายเป็นอารมณ์ทางสังคม เช่นเดียวกับความรู้สึกผิด ความหยิ่งยโส และความอิจฉาริษยา

ฟรีเดอร์ เพาลุส (Frieder Paulus) จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยมาร์บวร์ก (Universitätsklinikum Marburg) ได้อธิบายว่าอารมณ์เหล่านี้เป็นเครื่องชี้วัดทางศีลธรรม พวกเขาจะแสดงมันออกมาเมื่อคุณต่อต้านบรรทัดฐานของสังคม หรือสิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดว่ามันดีแล้ว หน้าที่ของมันคือควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในกรณีของความรู้สึกผิด นั่นหมายถึงการขอโทษเมื่อคุณทำร้ายผู้อื่น ด้วยวิธีนี้ คุณจะสามารถรักษาหน้าและฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางสังคมได้

สิ่งที่น่าอายเกิดขึ้นเมื่อความรู้สึกอับอายนั้นเปลี่ยนแปลงได้มาก สิ่งที่อินเทรนด์เมื่อ 10 ปีที่แล้วอาจเป็นเรื่องที่น่าเขินอายในปัจจุบัน เมื่อพูดถึงทรงผม ดนตรี หรือสไตล์แฟชั่น และไม่ใช่แค่ในระดับสังคมเท่านั้น บางสิ่งที่คุณคิดว่าเหมาะสมเมื่อคุณอายุ 16 ปี คุณจะพบว่าน่าอายในภายหลัง

ทีมวิจัยของซาบริน่า ไอม์เลอร์ (Sabrina Eimler) ค้นพบว่า แม้ว่าระดับชื่อเสียงของบุคคลนั้นไม่ได้มีบทบาทในการทำให้ผู้อื่นอับอาย แต่คุณจะรู้สึกอายมากขึ้นหากคนใกล้ตัวทำในสิ่งที่ทำให้อับอาย ในความเป็นจริง คุณจะรู้สึกอายมากขึ้นเมื่อคนที่ได้รับผลกระทบเป็นคนที่คุณรู้จักมากกว่าการเป็นคนที่คุณไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว อาจเป็นเพราะคนรู้จักมีความใกล้ชิดกับกลุ่มของตัวเองมากกว่า คนเรามักจะมีความเห็นอกเห็นใจต่อคนในกลุ่มสังคมเดียวกับเรามากกว่าคนแปลกหน้า

ลองสวมบทบาทเป็นเพื่อน คนรู้จัก หรือแม้แต่นางเอกนิยายที่คุณกำลังอ่านอยู่ แล้วลองพิจารณาสถานการณ์ที่ทำให้คุณเกิดความรู้สึกอับอาย การอับอายแทนผู้อื่นเป็นกระบวนการทางสังคมที่ซับซ้อนมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับค่านิยมและบรรทัดฐานของแต่ละคน นอกจากนี้พฤติกรรมของแต่ละคนก็อาจทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกเขินอาย แม้พฤติกรรมดังกล่าวจะเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้มีความผิดใดเลยก็ตาม

Fremdschämen ต่างจาก Schadenfreude อย่างไร?

ในสถานการณ์ที่น่าอับอาย ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้อื่นรู้สึกละอายใจเท่านั้น แต่ยังทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกยินดีที่เห็นคนอื่นเป็นทุกข์ หรือ Schadenfreude ได้อีกด้วย

โดยทั้งความเห็นอกเห็นใจและความใกล้ชิดกับบุคคลนั้น ๆ องค์ประกอบทั้งสองนี้เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำให้ผู้อื่นอับอาย หากไม่มีก็จะเกิดความรู้สึกที่แตกต่าง เป็นความรู้สึกแบบ Schadenfreude แทน

นอกจากนี้การศึกษาบางชิ้นพบว่ายิ่งมีประสบการณ์เชิงลบกับบุคคลนั้นมากเท่าไร ความสงสารที่มีต่อคน ๆ นั้นจะน้อยลง ระดับของอารมณ์ในด้านลบจะเพิ่มขึ้น รวมถึงความรู้สึกดีใจที่เห็นคนอื่นเป็นทุกข์ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจากการศึกษาสรุปได้ว่า หากผู้ทดสอบมีพฤติกรรมที่ไม่ยุติธรรมต่อผู้อื่น ความเต็มใจที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจก็จะลดลงเช่นกัน

นักจิตวิทยาเน้นย้ำว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับแรงจูงใจและอารมณ์ สถานการณ์เดียวกันสามารถกระตุ้นให้เกิดทั้งความอับอายและความลำบากใจได้ ซึ่งในความเป็นจริง มีเส้นบาง ๆ ระหว่างความรู้สึกทั้งสองที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา การมองแบบ Schadenfreude ในตอนแรกอาจกลายเป็นความรู้สึกแบบ Fremdschämen และเกิดความรู้สึกสงสารในภายหลังได้

“Schadenfreude vs Freudenfreude” สะใจเมื่อคนอื่นพลาด สุขใจเมื่อคนอื่นได้ดี

Links to related Sites: 
- Warum wir uns für Taten anderer Menschen schämen, welt
- Nachgefragt: Was bedeutet der Begriff »fremdschämen«?, literaturcafe
- Fremdschämen kann wehtun, n-tv
- Studien von Singer et al. 2006 und Takahashi et al. 2009

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *