ผลการวิจัยได้ตีพิมพ์ถึงภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล พบว่าผู้ใช้โซเชียลมีเดียมีโอกาสหมดกำลังใจและไม่มีความสุขมากกว่าคนที่ไม่ใช้สื่อออนไลน์ ซึ่งนี่ก็เป็นผลการวิจัยเพียงหนึ่งในจำนวนใหญ่ ๆที่เชื่อมโยงระหว่างโซเชียลมีเดียและภาวะซึมเศร้า แต่ทำไมแพลตฟอร์มอย่างเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมถึงทำให้คนไม่มีความสุขล่ะ? ลองมาหาคำตอบกันด้านล่างนี้กัน

โซเชียลมีเดียสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าคือสภาวะที่ทางการแพทย์กล่าวว่าส่งผลกระทบต่อสิ่งที่คิด รู้สึก และพฤติกรรม ซึ่งโซเชียลมีเดียอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ แต่ถึงอย่างไรปัญหาของภาวะซึมเศร้าก็ไม่ได้มาจากสังคมออนไลน์ทั้งหมด

สัญญาณของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้า

หากรู้สึกว่าโซเชียลมีเดียวมีผลกระทบในแง่ลบต่ออารมณ์ของตัวเอง บางทีคุณอาจจะเกิดภาวะซึมเศร้าจากการใช้โซเชียลมีเดีย อาการที่เกิดขึ้นอย่างเช่น

  • มีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ
  • พูดถึงแต่เรื่องทางลบ
  • ไม่พอใจ อึดอัด ซีมเศร้า
  • หงุดหงิดฉุนเฉียว
  • ขาดความสนใจในกิจกรรมที่ครั้งหนึ่งเคยสนุกกับมัน
  • ปลีกตัวออกจากสังคม

ใครมีอาการเหล่านี้มากกกว่าสองสัปดาห์และรู้สึกแย่ตลอดเวลา ก็มีความเป็นไปได้ที่คุณอาจมีภาวะซึมเศร้า ถึงแม้ว่าอาการซึมเศร้าจากโซเชียลมีเดียจะไม่ได้รับการยอมรับในมุมของทางการแพทย์ แต่อาการซีมเศร้าจากสื่อสังคมออนไลน์ถือเป็นปรากฎการณ์จริงที่ส่งผลราว ๆ 50% จากผู้ใช้โซเชียลมีเดีย โดยที่ผลการวิจัยในวารสาร Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking กล่าวว่า ถ้าคนไหนมีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้า และมีความผิดปกติทางจิตและอารมณ์ การใช้โซเชียลมีเดียอาจจะทำให้สุขภาพจิตแย่ลง

โซเชียลมีเดียอาจทำให้ความภาคภูมิใจในตัวเองลดลง

พวกเรารู้ว่าโซเชียลมีเดียและภาวะซึมเศร้ามีบางสิ่งที่เชื่อมโยงกัน แต่ทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้นล่ะ? สอดคล้องกับที่คุณหมอ Igor Pantic กล่าวว่า คนเรามักใช้สื่อสังคมออนไลน์บิดเบือนแนวความคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตทั้งของตนเองและคนอื่น ๆ คนส่วนใหญ่ชอบที่จะแสดงภาพลักษณ์ของตัวเองให้ดูดี บนสื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เราสับสนหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่คนอื่นบนโลกโซเชียลแสดงให้เราเห็น ทำให้เราคิดว่าทุก ๆ คนมีชีวิตที่ดีกว่า และไปลดทอนความภาคภูมิใจของตัวเองลงเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในที่สุด สิ่งนี้เป็นความจริงที่ว่า วัยรุ่นและผู้ใหญ่ชอบนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น หากคุณเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำอยู่แล้ว คุณก็จะรู้สึกแย่

สาเหตุที่ทำให้เกิดความโดดเดี่ยวทางสังคม

และอารมณ์ทางลบอื่น ๆ

ผลกระทบจากการใช้โซเชียลมีเดียกับสุขภาพจิตนั้นมีความเชื่อมโยงกันกับความโดดเดี่ยวทางสังคม โดยคนที่มีภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะแยกตัวออกจากสังคม และเลือกที่จะแสดงออกผ่านทางโซเชียลมีเดีย แต่การสื่อสารออนไลน์ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นความสัมพันธ์ที่ฉาบฉวย เมื่อเทียบกับการสร้างปฎิสัมพันธ์ในชีวิตจริง ๆ หมายความว่าไม่ใช่เพียงแค่โซเชียลมีเดียที่นำไปสู่การแยกตัวออกจากสังคม แต่วิธีอื่น ๆ อาจอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดเราจึงพบคนที่มีภาวะหดหู่ ซึมเศร้ามากมายในแพลตฟอร์มเหล่านี้

สุดท้ายแล้วการใช้โซเชียลมีเดียก็อาจก่อให้เกิดอารมณ์เชิงลบในตัวผู้ใช้เองเช่น อิจฉาริษยา หึงหวง ไม่ชอบ ความรู้สึกโดดเดี่ยว และอื่น ๆ อีกมากมาย และอาจทำให้อาการซึมเศร้าแย่ลง

จะเห็นได้ว่าทั้งอาการซึมเศร้าและการใช้โซเชียลมีเดียคือความเสี่ยงที่สอดคล้องกัน เพียงแต่ในแต่ละคนอาจจะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรเลือกใช้โซเชียลมีเดียให้เป็นเวลา หรือหลีกเลี่ยงการเข้าไปอ่านหรือให้ความสนใจกับคำวิจารณ์ลบ ๆ เพื่อที่จะได้มีสุขภาพจิตดีขึ้น เพราะทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่ต่างก็มีความเสี่ยงที่จะเจอผลกระทบทางด้านจิตใจจากการใช้โซเชียลมีเดียได้ไม่ต่างกัน

 

ข้อมูล ncbihealthlifehack

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *