กินได้ไม่เท่าไหร่ก็รู้สึกแน่นท้องขึ้นมาอย่างกระทันหันหลังจากรับประทานอาหารได้ไม่นาน และไม่ได้รับประทานอาหารมื้อใหญ่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นผลมาจากอาการท้องอืดที่เกิดจากการผลิตก๊าซส่วนเกินการกักเก็บน้ำหรือการย่อยอาหารช้า

และเพื่อช่วยลดอาการท้องอืดแน่นท้องจากการรับประทานอาหารเราจึงมีข้อแนะนำมาฝาก

1.หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม

เครื่องดื่มประเภทโซดาและน้ำอัดลมอาจทำให้ท้องอืดได้ ฟองจากเครื่องดื่มมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสร้างขึ้นในร่างกายและเกิดการพองลมในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มผ่านหลอดเพราะมีแนวโน้มที่จะทำให้คุณกลืนอากาศลงไปมากกว่าเดิม

2.ลดอาหารที่มีไขมัน

อาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกอย่างหนึ่งคือ อาหารที่มีไขมัน

อาหารทอดและอาหารที่มีไขมันสูงอื่น ๆ ช่วยกระตุ้นการหดตัวของทางเดินอาหารซึ่งทำให้ร่างกายย่อยอาหารช้าลงส่งผลให้คุณรู้สึกอีดอัดและแน่นท้อง

นอกจากนี้ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ อย่างเช่น ถั่วและอะโวคาโด ก็สามารถทำให้ท้องของคุณอืดได้เช่นกัน จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป และให้เลือกทานคู่กับอาหารที่เป็นมิตรต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น โฮลเกรน มะละกอ และโยเกิร์ตที่อุดมไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต

3.อย่าคุยขณะเคี้ยวอาหาร

การพูดคุยบนโต๊ะอาหารทั้งที่อาหารเต็มปาก นอกจากจะเป็นมารยาทที่ไม่ดี ยังทำให้เกิดอาการท้องอืดได้อีกด้วย มีแนวโน้มว่าคุณจะกลืนอากาศเข้าสู่ท้องในขณะที่พูดไปด้วยรับประทานอาหารไปด้วยในเวลาเดียวกัน

4.ตัดการรับประทานโซเดียม

เราทุกคนรู้ดีว่าอาหารที่มีโซเดียมหรือเกลือมากเกินไปนั้นส่งผลเสียต่อร่างกายหลายประการ และหนึ่งในนั้นก็คือ การกักเก็บน้ำซึ่งจะทำให้ท้องอืดได้ ดังนั้นจึงควรงดการรับประทานอาหารที่เค็มจนเกินไป และหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปเนื่องจากมีโซเดียมสูงนั่นเอง

5.รับประทานช้า ๆ

การกินเร็วเกินไปเป็นอีกนิสัยหนึ่งที่ทำให้คุณเผลอกลืนอากาศส่วนเกินเข้าสู่ท้อง ดังนั้นให้ใช้เวลาเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยหลีกเลี่ยงการกักเก็บก๊าซแต่ยังช่วยให้ร่างกายย่อยอาหารได้ง่ายและเร็วขึ้น โอกาสท้องอืดก็จะน้อยลง

6.เดินเยอะ ๆ

แม้ว่าคุณจะรู้สึกอยากจะนั่งพักอยู่บนเก้าอี้ หลังจากที่รับประทานอาหารมื้อใหญ่มา ให้ลองเปลี่ยนเป็นเดินเร็ว ๆ แทน การเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยกระตุ้นก๊าซที่สร้างขึ้นผ่านทางเดินอาหารของคุณ ซึ่งจะช่วยทำให้คุณท้องอืดน้อยลง

7.บันทึกไดอารีถึงอาหารที่กินในแต่ละวัน

การแพ้อาหารหรือภูมิแพ้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการท้องอืด ดังนั้นการจดบันทึกถึงอาหารที่รับประทานรวมถึงสาเหตุที่ทำให้ท้องอืด แม้แต่อาหารทั่วไปบางอย่างก็อาจทำให้ท้องอืดได้ อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่ว แอปเปิล หัวหอม ข้าวสาลี กลูเตน และผักตระกูลกะหล่ำ เช่น บล็อกโคลี และ กะหล่ำปลี

ซึ่งแน่นอนว่าอาหารที่กระตุ้นลำไส้บางอย่างก็ดีต่อสุขภาพดังนั้นคุณจึงสามารถเลือกรับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่พอเหมาะได้ แทนที่จะตัดอาหารเหล่านี้ออกไป

หากเคล็ดลับที่ได้แนะนำไปข้างต้นนี้ไม่ได้ผลอาจจะเกิดขึ้นจากสุขภาพร่างกายของคุณ เนื่องจากนี่เป็นวิธีแนะนำขั้นพื้นฐาน จึงควรปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้ควรออกกำลังกายควบคู่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *