แม้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันเริ่มต้นปีที่ทั่วโลกยอมรับกันมากที่สุด แต่ก็เป็นเช่นนั้นมาเพียงไม่กี่ศตวรรษเท่านั้น ในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา วันขึ้นปีใหม่มีการนับวันและเดือนที่ต่างกันออกไปในแต่ละวัฒนธรรม
1 มกราคมคือวันปีใหม่ได้อย่างไร
ย้อนกลับไปในอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เมื่อ 4,000 ปีก่อนชาวบาบิโลเนียนโบราณได้เริ่มต้นเทศกาล 11 วัน ที่เรียกว่าเทศกาลอะกิตู (Akitu) ในวันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ช่วงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นวันที่กลางวันและกลางคืนมีความยาวเท่ากัน นอกจากนี้ในวัฒนธรรมท้องถิ่นอื่น ๆ อย่างชาวอียิปต์ ชาวเปอร์เซีย และชาวฟินีเซียน ได้ร่วมกันสร้างวัฒนธรรมใหม่ร่วมกันในวันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) ที่อยู่ในช่วงปลายเดือนกันยายน เนื่องจากชาวกรีกชอบวันเหมายัน (Winter Solstice) เป็นวันที่กลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวนานที่สุดซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม
โดยการเฉลิมฉลองวันปีใหม่มีต้นกำเนิดมาจากประเพณีของชาวโรมันโบราณ ซึ่งเป็นงานฉลองของเทพเจ้าเจนัส (Janus) แห่งโรมัน ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นและการสิ้นสุด จึงเป็นที่มาของชื่อเดือนมกราคมในภาษาอังกฤษ เทพเจ้าเจนัสมีสองใบหน้า ใบหน้าหนึ่งมองย้อนกลับไปในอดีต และอีกใบหน้าหนึ่งมองไปข้างหน้าสู่อนาคต
เช่นเดียวกับวันที่ 1 มกราคม เราก็มองย้อนกลับไปในปีที่เพิ่งสิ้นสุดและตั้งตารอปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ชาวโรมันจึงได้ให้คำมั่นสัญญากับเทพเจ้าเจนัสในการจัดงานเฉลิมฉลองปีใหม่ การตั้งปณิธานวันปีใหม่มีต้นกำเนิดมาจากประเพณีโบราณนี้ โดยเริ่มต้นปีในวันที่ 1 มกราคม เป็นธรรมเนียมที่จะต้องแลกเปลี่ยนคำอวยพรที่ดีให้แก่กัน และในวันที่ 9 มกราคมสังฆนายก (Rex Sacrorum) ซึ่งเป็นบาทหลวง (priesthood) ที่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภาโรมัน จะถวายแกะที่เป็นเครื่องสังเวยแก่เทพเจ้าเจนัส
1 มกราคมไม่ใช่วันปีใหม่เสมอไป
วันที่ 1 มกราคมไม่ใช่วันปีใหม่เสมอไป แม้ว่าหลาย ๆ คนจะเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม แต่บางวัฒนธรรมก็มีวันปีใหม่ที่แตกต่างออกไป
วันวสันตวิษุวัต และ วันศารทวิษุวัต
ในอดีตการเฉลิมฉลองปีใหม่บางแห่งเกิดขึ้นในวันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้ระยะเวลาของกลางคืนและกลางวันเท่ากัน ในหลายวัฒนธรรม เดือนมีนาคมหรือวันวสันตวิษุวัต ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงและการเริ่มต้นใหม่ ดังนั้นการเฉลิมฉลองวันปีใหม่นี้จึงเป็นเรื่องปกติสำหรับวิษุวัต (Equinox) นั่นเอง
นอกจากนี้ในเดือนกันยายนหรือวันวันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) ก็ถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ปฏิทินของพรรครีพับลิกันในฝรั่งเศส ถูกใช้ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส และใช้เป็นเวลาประมาณ 12 ปี ตั้งแต่ปลายปี1793 – ปี1805 โดยเริ่มต้นปีในเดือนกันยายนนั่นเอง
ส่วนชาวกรีกเฉลิมฉลองปีใหม่ในวันเหมายัน (Winter Solstice) ซึ่งเป็นวันที่สั้นที่สุดของปี
วันปีใหม่ของชาวยิว
ชาวยิวใช้ปฏิทินจันทรคติเฉลิมฉลองปีใหม่ในฤดูใบไม้ร่วงให้เป็นเดือนแรกในการเข้าสู่ปีใหม่ (Rosh Hashanah) หรือเดือนทิชรี (Tishri) ซึ่งเป็นเดือนที่เจ็ดของปีสำหรับชาวยิว ถือเป็นเดือนแห่งการเริ่มต้นปี โดยปกติวันนี้จะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน โดยมีวันหยุด 2 วันเหมือนกับวันปีใหม่ของวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่เป็นทั้งช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง และการสิ้นสุดปีอีกปีหนึ่ง
วันปีใหม่จีน เทศกาลตรุษจีน
นอกจากนี้ยังมีวันตรุษจีนหรือที่เรียกว่าวันขึ้นปีใหม่จันทรคติ ซึ่งมีการเฉลิมฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน ในช่วงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ เทศกาลตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญที่สุดของชาวจีน ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ รวมถึงในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ยังมีการเฉลิมฉลองในชุมชนย่านไชน่าทาวน์ของชาวเอเชียที่ย้ายถิ่นฐานไปทั่วโลก ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาของการรวมตัวกันของครอบครัวเพื่อเฉลิมฉลองและไหว้ขอพรจากเทพเจ้า
โดยในปี 2024 วันตรุษจีนตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2024 (ปีมะโรง) และในปี 2025 วันตรุษจีนตรงกับวันที่ 29 มกราคม 2025 (ปีมะเส็ง)
วันปีใหม่ไทย เทศกาลสงกรานต์
แต่เดิมวันปีใหม่ไทยตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งมีบางปีที่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน รัชกาลที่ 5 จึงให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายน เป็นต้นมา แต่สำหรับประชาชนก็ยังคงยึดถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่มากกว่า โดยในปี ค.ศ.1948 เริ่มกำหนดให้นับวันสงกรานต์เป็นวันที่ 13 เมษายน ในปัจจุบันวันสงกรานต์มี 3 วันคือ วันที่ 13 เมษายน (วันมหาสงกรานต์) วันที่ 14 เมษายน (วันเนา) และ วันที่ 15 (วันเถลิงศก) กิจกรรมประเพณีในวันสงกรานต์มีทั้งการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ก่อเจดีย์ทราย ขนทรายเข้าวัด สรงน้ำพระ และเล่นสาดน้ำในวันสงกรานต์นั่นเอง
ในปัจจุบันทั่วโลกนับวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ ส่วนในวันปีใหม่ท้องถิ่นก็ยังคงมีอยู่ ถือว่าเป็นเทศกาลพิเศษที่จะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวและทำกิจกรรมตามประเพณีท้องถิ่นร่วมกัน
Links to related Sites: - Why does the New Year begin on January 1?, earthsky - สงกรานต์ 3 วัน 13-15 เม.ย. เริ่มมีเมื่อใด, silpa-mag - Why Is January 1 the Beginning of a New Year?, discovermagazine
I like to stay at home, writing random stuff and watching series. I enjoy learning new things and exploring new ideas.